BACK

มินิมัล ลุค เทรนด์โลกจากมิลาน แฟร์

“มิลาน” ไม่ได้มีแค่สินค้าเสื้อผ้าแฟชั่นแบรนด์เท่านั้น Prada, Gucci หรือ Versace อาจเป็น “แม่เหล็ก” ดึงดูดแฟชั่น นิสต้า แต่สำหรับอินทีเรียร์ ดีไซน์เนอร์ รวมทั้งผู้ที่มองหาเฟอร์นิเจอร์คุณภ่พเนี้ยบ ดีไซน์โดดเด่นจุดมุ่งหมายของพวกเขาต่อมิลาน คือแบรนด์เฟอร์นิเจอร์อย่าง B&B Italia, Minotti, Poliform หรือ Boffi ติดตามกระบวนการ หลักคิด ที่ทำให้แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ จากมิลานกลายเป็น ” ผู้ทรงอิทธิพล” กำหนดเทรนด์ดีไซน์โลก และเป็นแบรนด์ไฮเอนด์ที่ระบือไกล Salone Internazionale del Mobile (Milan Furniture Fair 2009) หรือมิลานเฟอร์นิเจอร์แฟร์ เป็นงานที่ได้รับความสนใจสูงสุดในบรรดางานแฟร์เฟอร์นิเจอร์ของโลก จำนวนแบรนด์อิตาลีที่มาออกงานทั้งหมด 1,080 แบรนด์ และต่างประเทศอีก 290 แบรนด์ ต้องใช้พื้นที่ระมาณ 149,871 ตารางเมตรในศูนย์ประชุม Fiera Milano Nuovo Polo เพื่อแสดงสินค้า เรียกว่า ถ้าจะชมให้ทั่วงาน ต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์

ขณะที่ผู้คนต่างหลั่งไหลเข้ามาวันละไม่ต่ำกว่าหมื่นคน โดยปีนี้ยอดผู้เข้าชมตลอดทั้ง 7 วัน มีราว 27,800 คน เป็นผู้เข้าชมจากต่างประเทศ 153,456 คน จาก 152 ประเทศทั่วโลก ขณะที่คนอิตาลีเอง ก็ให้ความสนใจไม่แพ้กันด้วยจำนวน 124,554 ไม่นับรวมผู้สื่อข่าวจาก 5 ทวีปทั่วโลกอีก 5,385 คน ดีไซน์เนอร์มาเพื่อหาแรงบันดาลใจ แลกเปลี่ยนไอเดียตามก้าวหน้าโลกการออกแบบ เหล่าเทรดเดอร์ต่างมุ่งตรงมา เพื่อคอลเลคชั่นใหม่ ผู้สื่อข่าวต่างพากันรายงาน เพื่อสรุปเทรนด์ของแต่ละแบรนด์ดัง แบรนด์เฟอร์นิเจอร์จากมิลานได้เข้าครองพื้นที่ในใจของกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูงทั่วโลก ด้วยคุณสมบัติที่ตอบสนองทั้งในแง่ดีไซน์ คุณภาพ และการใช้งาน แม้แต่ในเมืองไทย ขณะนี้แบรนด์ เฟอร์นิเจอร์ชั้นนำ สิ้นค้าประเภทโคมไฟ และสินค้าตกแต่งบ้านชิ้นเล็ก ชิ้นน้อยจากอิตาลีได้พาเหรดเข้ามาไม่ต่ำกว่า 250 แบรนด์ BizWeek พาตะลุยงานมิลาน เฟอร์นิเจอร์ แฟร์ พร้อมอัพเดทเทรนด์เฟอร์นิเจอร์ตรงจากอิตาลี

Less is More หรือ Minimal Look สัญลักษณ์ของเฟอร์นิเจอร์อิตาลียุคใหม่ ที่เน้นความเรียบง่าย รูปลักษณ์ดูน้อย แต่มากด้วยฟังก์ชั่นการใช้งาน ได้เข้ามาทดแทนความคลาสสิกแบบฟุ่มเฟือยและกลายเป็นคำจำกัดความใหม่ของเฟอร์นิเจอร์จากอิตาลี มินิมัลลุคซึ่งก่อตัวในวงการเฟอร์นิเจอร์อิตาลีได้กลายเป็นกระแสหลักของเฟอร์นิเจอร์มีดีไซน์ทั่วโลกมา 2-3ปีแล้ว และยืนหยัดความแรงต่อเนื่องถึงปีนี้ ดร.กุลเดช สินธวณรงค์ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทจาร์เค็นบริษัทออกแบบก่อสร้างและตกแต่งภายในบ้านหรู ที่มีความเชี่ยวชาญในการตกแต่งสไตล์โมเดิร์น คอนเท็มโพรารี่ บอกว่าเทรนด์ของเฟอร์นิเจอร์ของมิลานแฟร์ ในช่วง 2-3ปีผ่านมา ออกมาในลักษณะของโมเดิร์น เน้นความเรียบง่าย แต่เปี่ยมไปด้วยประโยชน์แห่งการใช้งาน ซึ่งทั้งสไตล์โมเดิร์น คอนเทมโพรารี่ และมินิมัล ลุคได้รับอิทธิพลจากการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย “เทรนด์การออกแบบนี้ยังคงเป็นกระแสหลัก เห็นได้จากงานต่างๆของแบรนด์เฟอร์นิเจอร์อิตาลีขณะที่ความหรูหราแบบโรมันหรือที่เรียกว่าเฟอร์นิเจอร์หลุยส์ในอดีตค่อยๆ ลดบทบาทออกไปกลายเป็นตลาดขนาดเล็กเท่านั้น” อาการติดใจของผู้ซื้อเฟอร์นิเจอร์ทั่วโลกที่มีต่อมินิมัลลุคทำให้แบรนด์อย่าง Minotti, B&B Italia และPoliform ได้รับความสนใจอย่างหนาตา ทั้งในบริเวณงานแฟร์ และช็อปที่ตั้งอยู่ในย่านใจกลางเมืองของมิลาน มีผู้เยี่ยมชมและผู้ซื้อเดินกันขวักไขว่ แน่นขนัด เหตุที่งานดีไซน์ประเภทโมเดิร์น คอนเทมโพรารีได้รับความนิยมและกลายเป็นแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่มีความต้องการจากทั่วโลกอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายๆว่า เพราะเป็นแบรนด์ที่เอาใจตลาด และผู้ซื้อมากกว่า แบรนด์อื่นๆ ในอิตาลี โดยทั่วไปแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ในอิตาลีถูกแบ่งออกเป็น 3หมวดด้วยกัน ได้แก่ อาร์ทเฮ้าส์ (Art House) ดีไซน์เฮ้าส์ (Design House) และ แฟชั่นเฮ้าส์ (Fashion House )

“อาร์ทเฮ้าส์” หรือเรียกอีกแบบหนึ่งว่า คลาสสิกเฮ้าส์ เป็นแบรนด์ที่ยืดมั่นแนวคิดแบบดั้งเดิมในการทำเฟอร์นิเจอร์ แต่ก่อนเคยทำอย่างไรใช้เทคนิคแบบไหน ปัจจุบันก็ยังคงทำแบบนั้น ชิ้นงานที่ผลิดยังคงความดั้งเดิมของอิตาลี เช่น ใช้สลักเป็นตัวยึดแทนตะปู หรือ ใช้วัสดุที่มีอยู่เดิม อย่างเช่น ไม้ หรือหิน แม้รูปลักษณ์ภายนอกจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคและสมัยนิยม แต่ “กลิ่น” รากเหง้าของแบรนด์ยังคงอยู่

ในกลุ่มอาร์ทเฮ้าส์ งานบางชิ้นที่เห็นอาจดูแปลกตาและไม่ได้เข้ากับเทรนด์เพราะแบรนด์ส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้ไม่ใช่แบรนด์ที่เอาใจตลาดดีไซน์เนอร์จะมีอิทธิพลสูงกว่าผู้ซื้อ สามารถกำหนดทิศทางของตลาดได้ ซึ่งแตกต่างจากที่อื่นทั่วโลกที่ตลาดส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือของผู้บริโภคโดยมีไลฟ์สไตล์ และรูปแบบการใช้งาน เป็นตัวควบคุมทิศทางของผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน

“อาร์ทเฮ้าส์ดีไซน์ตามแนวทางชิ้นงานในอดีต ยึดการผลิตก่อนการออกแบบค่อยตามมา พวกนี้จะใช้คนทำ ไม่ใช่เครื่องจักร อย่าง เช่น แบรนด์ Poltrana Frau ซึ่งแตกต่างจากเฮ้าส์อื่นๆ” กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท จาร์เค็น อธิบาย แต่ถึงแม้จะทำตามใจดีไซน์เนอร์เป็นหลัก เทรนด์โดยรวมของอาร์ทเฮ้าส์ในช่วงหลังนี้ก็มีกลิ่นอายของความร่วมสมัยเข้ามาผสมในชิ้นงานอยู่มากตัวอย่างเช่น Cassina แบรนด์เฟอร์นิเจอร์อิตาลีที่มีอายุยาวนานมากกว่า 200 ปี แต่ยังคงความเป็น Conservationist ที่ชิ้นงานแสดงให้เห็นถึงช่างฝีมืองานใช้แบบอิตาลีแท้ แม้คอลเลคชั่นล่าสุดที่ออกมาจะปรับดีไซน์ ตามสมัยนิยมบ้างก็ตาม หรือ Poltrana Frau งานเครื่องหนังและทองเหลืองแบบแฮนด์ที่พัฒนาตัวเองมาจากงานออกแบบอื่น ที่เกี่ยวกับแฟชั่นมากกว่างานสถาปัตยกรรมโดยตรง โดยเฉพาะแบรนด์เสื้อผ้าและเครื่องประดับทั้งหลาย แฟชั่นเฮ้าส์เน้นการทำงานออกแบบที่อิงแนวทางของแฟชั่นหลักของแบรนด์ที่มีอยู่มาก่อนและปรับใช้ให้เช้ากับงานเฟอร์นิเจอร์ โดยยังคงความเป็นแกนของแบรนด์แฟชั่นไว้เช่นเดิม ในกลุ่มนี้ Giorgio Armani ดูเหมือนจะมาโกลกว่าแบรนด์อื่น โดยมี Arrnani Casa ที่ยึดครองอาคารหลายคูหาใจกลางเมืองมิลานเป็นโชว์รูมขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ยังมี Fendi ที่ในปีนี้ไม่ได้มีแค่โซฟา เก้าอี้ เตียงนอน หรือโต๊ะกินข้าวเท่านั้น แต่หันไปพัฒนาครัวที่ว่ากันว่าต้องมีเงินมากกว่า 7 หลักถึงจะนำสัญลักษณ์ตัว F นี้เข้ามาไว้ในบ้านได้

รวมถึง Kenzo ที่ไม่เคยเปิดเผยคอลเลคชั่นเฟอร์นิเจอร์ที่ไหนมาก่อน ก็ขอมาร่วมแชร์พื้นที่กับFendiนำเสนองาน หรือแม้กระทั่งดีเซล ที่ร่วมมือกับ Moroso แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่มีแนวทางการดีไซน์แบบ “คิดนอกกรอบ” ด้วยการนำผ้ายีนส์ของดีเซลมาผลิตชุดโซฟา และเก้าอี้ เพื่อเอาใจเหล่าแฟชั่นนิสต้า งานของแฟชั่นเฮ้าส์ ดูมี “สีสัน”และ”ฉูดฉาด” มากกว่าตามคาแรคเตอร์ของแต่ละแบรนด์แต่รูปลักษณ์ภายนอกก็ยังลดทอนรายละเอียดที่มากเกินความจำเป็นออกไป เพื่อให้อึงเข้ากับเทรนด์โมเดิร์นคอนเทมโพรารี่ ส่วน “ดีไซน์เฮ้าส์” ก็ไม่ต่างจากอาร์ทเฮ้าส์มากเท่าไรเพราะแบรนด์ที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้มีการปรับตัวอย่างสม่ำเสมอ และพัฒนาวัสดุ รวมทั้งเทคนิคใหม่ๆตลอดเวลา B&B Italia คือ ตัวอย่างที่บ่งบอกถึงการปรับตัวได้อย่างชัดเจนโดยในปีนี้คอลเลชั่นของ B&B Italia ในมิลานแฟร์ ได้ละทิ้งแนวทางเฟอร์นิเจอร์อิตาลีไปพอสมควร แล้วหันไปอิงกระแสเอเชียซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพ และกำลังซื้อสูงในปัจจุบัน ด้วยการนำวัสดุที่พบมากในงานเฟอร์นิเจอร์ของเอเชีย อย่างเช่น หวาย มาผลิต แต่ถึงแม้จะแบ่งเป็นเฮ้าส์ต่างๆ เฟอร์นิเจอร์แบรนด์จากมิลานมีจุดร่วมที่เหมือนกันอย่างหนึ่งในลักษณะการทำงาน คือ การให้อิสระ ต่อดีไซน์เนอร์ในการทำงานสูง ซึ่งถือเป็นลักษณะเด่นของวงการเฟอร์นิเจอร์อิตาลี “จุดแตกต่างของงานดีไซน์อิตาลีเมื่อเทียบกับที่อื่น คือ ที่นี่บริหารงานดีไซน์โดยศิลปิน เมื่อศิลปินบริหารศิลปินก็แตกลูกหลานออกเป็นศิลปินมากมาย วงการเฟอร์นิเจอร์ที่อื่นส่วนใหญ่ต้องขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ซื้อเป็นหลัก ขณะเดียวกับผู้คนที่นี่ถูกแวดล้อมโดยบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมที่มีศิลปะตั้งแต่เกิด ทำให้คนอิตาลีซึมซับงานดีไซน์ตลอดเวลา” ผู้บริหารกลุ่มบริษัทจาร์เค็น กล่าว รูปแบบการบริหารงานวงการเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์ของอิตาลีจะเป็นรูปแบบ “สตูดิโอ” นั่นคือดีไซน์เนอร์จะทำงานโดยอิสระให้กับสตูดิโอต่างๆ ซึ่งแต่ละสตูดิโอจะมีดีไซน์เนอร์หลายคน หลากความคิด หลายวิธีการ ดีไซน์เนอร์เหล่านั้นจะทำงานด้านออกแบบในทิศทางที่ถนัดและชัดเจนเป็นตัวของตัวเอง คอยป้อนงานออกแบบพร้อมกับงานผลิดให้ ส่วนสตูดิโอจะคอยกำหนด กรอบแนวคิดกว้างๆ จาก โจทย์ของ “แบรนด์” ที่วงไว้ให้อีกที และแบรนด์เฟอร์นิเจอร์จะเป็นแค่สถานที่รวบรวมเฟอร์นิเจอร์จากสตูดิโอต่างๆไว้ด้วยกันเท่านั้น ผู้บริหารกลุ่มบริษัทจาร์เค็นยังขยายความเพิ่มเติมว่า แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่อิตาลี ผู้จัดจำหน่ายจะเป็นคล้ายๆ ค่ายเพลงแบบเบเกอรี่ มิวสิค เมื่อศิลปินบริหารศิลปิน ก็จะมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน ปล่อยให้แต่ละคนสร้างสรรค์งานของตัวเองออกมา ซึ่งแตกต่างจากค่ายเพลงแบบแกรมมี่ หรืออาร์เอส ที่ทางค่ายคุมโปรดักชั่น เฮ้าส์ และโปรดักชั่น เฮ้าส์ คุมศิลปินอีกทอดหนึ่ง

“ที่นี่บางครั้งแบรนด์ไม่สำคัญเท่าดีไซน์เนอร์ ดีไซน์เนอร์จะทำงานอิสระให้กับดีไซน์สตูดิโอต่างๆ และเฮ้าส์ต่างๆ จะเป็นคนเลือกชิ้นงานจากดีไซน์สตูดิโอ หรือบางกรณีอาจร่วมกันออกแบบ แล้วค่อยนำมาจำหน่ายสตูดิโอ หรือบางกรณีอาจร่วมกันออกแบบ แล้วค่อยนำมาจำหน่ายภายใต้แบรนด์ของเฮ้าส์นั้นๆ การทำงานในลักษณะนี้อธิบายได้อีกอย่างว่า คนไม่ได้ซื้อที่แบรนด์เป็นสำคัญ แต่สำหรับผู้ที่รู้ลึก รู้จริง จะมองที่ดีไซน์เนอร์ว่า ใครเป็นคนออกแบบชิ้นงานนั้นๆมากกว่า” ดร.กุลเดชกล่าว นี่เองที่ทำให้งานเฟอร์นิเจอร์ของอิตาลีกลายเป็นชิ้นงานที่มีคุณค่าเป็น “มากกว่า” เฟอร์นิเจอร์ประดับบ้านเพียงหนึ่งชิ้นเท่านั้น

กรุงเทพธุรกิจ